กฎในการปฏิบัติตามง่ายๆเพื่อจัดการความเสี่ยงในโลกของ Crypto
Table of Contents
DeFi กับ Cryptocurrency ต่างกันยังไง?
ถ้าเปรียบเทียบง่าย ๆ Cryptocurrency ก็เหมือนกับสกุลเงินต่าง ๆ ในโลกจริง เช่น บาท วอน ดอลล่า
ส่วน DeFi ก็จะเหมือนกับธนาคาร หรือสภาบันการเงินต่าง ๆ ที่ให้บริการทั้ง กู้-ยืม ฝาก-ถอนเงิน และแลกเปลี่ยนเงินแต่ละสกุลกัน แต่ต่างกันตรงที่ DeFi ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง ไม่ต้องเปิดสาขา ทุกอย่างอย่างอัตโนมัติด้วยโค้ดที่เขียนไว้
DeFi คืออะไร?
DeFi หรือ Decentralize Finance คือระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ ซึ่งเป็นระบบการเงินรูปแบบใหม่ ที่ไม่มีตัวกลางมาควบคุมเหมือนกับระบบธนาคาร โดยทุกอย่างที่ run บน DeFi เป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด โดยใช้โค้ด Smart contract ที่อยู่บน Blockchain ในการควบคุมการทำงาน
.
ซึ่งนี่ทำให้แพลตฟอร์มที่เป็น Decentralize Finance ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปิดสาขา รวมทั้งจ้างพนักงานมาเพื่อดำเนินกิจการด้วย ดังนั้นด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า Centralize Finance อย่างธนาคารมาก ๆ จึงทำให้ผลตอบแทนจากการฝากเงินไว้กับ DeFi สูงกว่านั่นเอง
กำเนิด Decentralize Finance (DeFi)
ต้องย้อนกลับไปในยุคหลังจาก Satoshi Nakamoto สร้าง Bitcoin ขึ้นมา
.
ในปี 2013 ได้มีเด็กหนุ่มอัจฉริยะชาวรัสเซีย ชื่อว่า Vitalik Buterin ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่พัฒนา Bitcoin ได้แยกตัวออกมาเพื่อพัฒนาคริปโตและระบบ Blockchain และได้ตั้งชื่อว่า Ethereum
.
โดยจุดเด่นของ Ethereum ที่ทำให้ต่างจาก Bitcoin อย่างชัดเจนก็คือ Ethereum มาพร้อมกับ Smart Contract หรือสัญญาอัจฉริยะ ที่สามารถเขียนเงื่อนไขลงไปในสัญญา ถ้าทำตามสัญญาได้ครบเงื่อนไขก็ได้บางอย่างตามเงื่อนไขเป็นการตอบแทน ซึ่งระบบ Smart Contract นี้สามารถเอาไปต่อยอดได้หลากหลายมาก เช่นการซื้อสินค้าออนไลน์ การกู้ยืมเงิน การแลกเปลี่ยนคริปโต เป็นต้น
.
โดย Ethereum ก็ได้เปิดให้นักพัฒนาทุกคนสามารถนำระบบ Smart Contract นี้ไปใช้ได้ฟรี ๆ โดยสามารถสร้างอะไรก็ได้บน Ethereum Chain ซึ่งในตอนแรกก็ยังไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากนักพัฒนาหลาย ๆ คนยังไม่ทราบว่าจะนำไปใช้ในด้านไหนได้บ้าง แต่พอเริ่มมีคนทำสำเร็จ ก็เริ่มมีคนทำตามมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเริ่มเข้าสู่ยุคสมัยของ DApp หรือ Decentralize Application นั่นเอง
.
โดยแพลตฟอร์ม DeFi แรกที่เกิดขึ้นมาบน Ethereum chain และประสบความสำเร็จมาก ๆ จนเป็นต้นแบบให้เกิดหลาย ๆ DeFi ในปัจจุบันก็คือ Compound DeFi ประเภท Lending ที่ให้บริการกู้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัล คล้าย ๆ กับระบบธนาคารในโลกจริง
.
Compound จะเปิดให้ใครก็ตามสามารถนำเหรียญมาฝากไว้กับแพลตฟอร์มได้ และจะจ่ายดอกเบี้ยให้เป็นเปอร์เซ็นตามจำนวนที่นำไปฝาก โดย Compound จะเอาเงินที่ฝากมากองรวมกันไว้ใน pool และเมื่อมีคนมากู้ก็จะดึงเงินในกองนั้นออกไป แต่จะมีดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสูงกว่าผู้ที่นำเหรียญมาฝาก ซึ่งผลตอบแทนที่ได้จากการฝากจะอยู่ที่ 10 – 100% ต่อปี ซึ่งอาจจะไม่ได้สูงมากนัก แต่ก็คุ้มกว่าฝากในธนาคารอยู่ดี
กำเนิด Yield Farming
เมื่อ Compound ประสบความสำเร็จทำให้เกิดแพลตฟอร์ม DeFi ใหม่ ๆ ขึ้นมามากมาย ดังนั้นเมื่อคู่แข่งมากขึ้น แพลตฟอร์มต่าง ๆ เลย พยายามหาวิธีให้ดึงลูกค้าให้มาใช้แพลตฟอร์มมากที่สุด ดังนั้นบาง DeFi จึงได้ออก Governance Token ที่เป็นเหรียญประจำแพลตฟอร์มขึ้นมา เช่น Comp เหรียญประจำ Compound, AAVE เหรียญประจำ Aave, MKR เหรียญประจำ MakerDao เป็นต้น เพิ่มให้เป็น Reward นอกเหนือจากที่ได้จากการฝากเหรียญด้วย
.
ซึ่ง Governance Token นี้จะเป็นเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ใน Ecosystem ของ DeFi นั้นเอง เช่นการโหวตเเพื่อปรับเปลี่ยน Gas fee เพิ่มคู่เหรียญ หรืออะไรก็ตามในแพลตฟอร์ม ตลอดจนการถือไว้จำนวนหนึ่งเพื่อได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่นลดค่าธรรมเนียม นำไปลุ้นโชคบนแพลตฟอร์ม ซื้อ NFT เป็นต้น ดังนั้นเมื่อมีความต้องการเหรียญมากขึ้น จากเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นมาลอย ๆ ไม่ได้มีมูลค่า ก็มีมูลค่ามากขึ้นตามความต้องการด้วย
.
ต่อมาเมื่อ Governance Token ได้รับความนิยมมากขึ้น ก็ได้เกิดแพลตฟอร์ม DeFi ประเภทใหม่ขึ้นมา เรียกว่า Decentralize Exchange หรือ DEX นั่นเอง
.
ซึ่งหลาย ๆ คนน่าจะรู้จักกับ Binance หรือ Bitkub อยู่แล้ว แพลตฟอร์มประเภทนี้เป็น Centralized Exchange(CEX) ที่เปิดให้นักลงทุนสามารถตั้งราคาเพื่อเทรดเหรียญกันได้ผ่านแพลตฟอร์ม แต่ Decentralized Exchange จะไม่สามารถตั้งราคาเพื่อซื้อขายได้เหมือน CEX แต่จะใช้ระบบ AMM ในการคำนวณราคาแทน
.
แน่นอนว่าการเป็น Decentralized Exchange จะต้องมีเหรียญที่อยู่ในแพลตฟอร์มมากพอเพื่อให้เกิดสภาพคล่องที่ดี ดังนั้นแพลตฟอร์มประเภทนี้จึงเปิดให้คนนำเหรียญมาฝากไว้กับแพลตฟอร์ม และมากองไว้รวมกันเรียกว่า Liquidity Pool ซึ่งผู้ที่นำมาฝากจะได้ LP มา คล้าย ๆ กับตั๋วเราสามารถนำไปแลกกับเป็นเหรียญที่เราฝากไว้ได้ตลอดเวลา โดยเราสามารถนำตั๋ว LP นั้นไปลองในฟาร์มเพื่อรับผลตอบแทนเป็น Governance Token ของ DEX นั้นได้ ซึ่งสิ่งนี้เองมีชื่อเรียกว่า Yield Farming
เลือกฟาร์มยังไงให้ปลอดภัย
1.มี Audit จากบริษัทที่น่าเชื่อถือ เช่น Certik
2.ทีมพัฒนาและเจ้าของโปรเจค มีตัวตนอยู่จริง และเป็นคนมีชื่อเสียง หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการเงินการลงทุน
3.TVL สูงกว่า 50 ล้านดอลล่า
4.ระยะเวลาในการเปิดควรมากกว่า 3 เดือนและยิ่งไม่เคยมีประวัติโดนแฮ็กยิ่งดี
5.มีแผน Road map ชัดเจน อ่านแล้วมองภาพในอนาคตออก
6.มีนักลงทุน/บริษัทใหญ่ ๆ สนับสนุนแพลตฟอร์ม
7.เหรียญประจำแพลตฟอร์มสามารถ list บนเว็บเทรดดัง ๆ ได้ เช่น Binance Coinbase
8.มีการตรวจสอบโค้ด Smart contract 24 ชม. เช่น Certik Skynet
9.เหรียญ Governance เป็นเหรียญที่มีอยู่ใน Coinmarketcap หรือ Coingecko ยิ่งมีอันดับด้วยยิ่งดี
10.คอมมูนิตี้ทั้ง Facebook Twitter Telegram ควรมีสมาชิกหรือผู้ติดตามหลักพันขึ้นไป
คู่เหรียญฟาร์ม
คู่ Stablecoin : ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาเหรียญและ Impermanant Loss ต่ำ แต่ผลตอบแทนก็ไม่มากเท่าคู่อื่น เช่น USDT-BUSD KUSDT-DAI เป็นต้น โดย APR จะอยู่ประมาณ 10-60%
คู่ Stablecoin – Altcoin : โดนความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาแค่เหรียญเดียว แต่ผลตอบแทนดีกว่าคู่ Stablecoin เช่น BTC-BUSD เป็นต้น โดย APR จะอยู่ประมาณ 100-1000% หรืออาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับแต่ละฟาร์ม
คู่ Altcoin – Altcoin : โดนความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาทั้งสองเหรียญ แต่ผลตอบแทนดีกว่าคู่ Stablecoin เช่น BTC-BNB เป็นต้น โดย APR จะอยู่ประมาณ 100-1000% หรืออาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับแต่ละฟาร์ม แนะนำให้เล่นคู่นี้ช่วงตลาดขาขึ้นจะปลอดภัยกว่า
คู่ Governance token : เป็นการนำ Altcoin หรือ Stablecoin มาฟาร์มคู่กับเหรียญประจำ DeFi นั้น ซึ่งแบบนี้จะได้ APR สูงที่สุด แต่มีความเสี่ยงที่เหรียญ Gov จะราคาลงอย่างรวดเร็วอยู่ด้วย
ความเสี่ยงในการทำ Yield Farming
1.Rug Pull
Rug Pull หรือ การดึงพรมเป็นการเปรียบเทียบเหมือนเรายืนอยู่บนพรม แล้วโดนดึงออกทำให้ล้มแบบไม่ได้ตั้งตัวมาก่อน โดยเจ้าของเองเป็นคนเอาเหรียญทั้งหมดที่อยู่บนแพลตฟอร์มไป โดยการเขียน Smart Contract ให้เกิดช่องโหว่ในการ Rug Pull ไว้แต่แรก
2.Exit Scam
Exit Scam คือการที่เจ้าของทิ้งโปรเจค หรือไม่พัฒนาต่อแล้ว อาจจะเพราะปัญหาอะไรบางอย่าง หรือได้ประโยชน์จนพอใจแล้ว เหมือนที่เพิ่งเกิดกับ Merlin ไปล่าสุด โดยการประกาศว่าจะยุติพัฒนาจะทำห้เหรียญ Governance Token ของ DeFi นั้นตกลงอย่างรวดเร็ว ซึ่ง Exit Scam ก็อาจจะมีการ Rug Pull ร่วมด้วยก็ได้
3.โดน Hack
การโดน Hack เป็นการกระทำที่ไม่เกิดจากความตั้งใจของเจ้าของ แต่มีคนข้างนอกแฮ็กโค้ด Smart contract เข้ามาแก้ไขบางอย่างได้ เนื่องจาก Source Code ทุกอย่างบน DeFi นั้นจะต้องเปิดเป็น Public หมด ถ้าโค้ดที่เขียนมีบัค หรือช่องโหว่เพียงเล็กน้อย ก็สามารถโดน Hack ได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น Icecream โดน Hacker สั่งเปลี่ยน Owner เป็นตัวเอง แล้ว mint เหรียญขึ้นมาเพิ่มจำนวนมาก ก่อนนำไปขาย แล้วเก็บเหรียญอื่นโอนออกไป
4.มูลค่าเหรียญลดลง
อันนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่หลาย ๆ คนมองข้ามเพราะไปสนใจแต่ APR และ APY จนลืมคิดไปว่าเหรียญที่นำไปฟาร์มมูลค่าลดลงได้ ซึ่งต่างกับการฝากเงินในธนาคาร ที่จำนวนเงินของเราจะไม่ลดลง โดยเฉพาะการลงในคู่เหรียญที่มี APR สูง ๆ เช่น Governance Token ซึ่งมีโอกาสที่จะตกได้สูง ดังนั้นสิ่งที่ฟาร์มมาได้อาจจะไม่คุ้มกับการขาดทุนจากการซื้อ Governance Token ก็ได้ต้องคิดให้ดี
5.Impermanent Loss
Impermanent Loss หรือการขาดทุนกำไรแบบชั่วคราว นั้นเกิดจากการที่เรานำคู่เหรียญสองเหรียญไปลงใน Liquidity Pool และหลังจากนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาขึ้น ระบบ AMM ที่อยู่ในฟาร์มจะทำการ Rebalance คู่นั้นให้กลับมามูลค่าเท่ากันโดยอัตโนมัติ ซึ่งระบบนี้ทำให้มูลค่ารวมของทั้งสองเหรียญน้อยลงกว่าการถือเหรียญไว้เฉย ๆ โดยไม่เอาลงฟาร์ม
6.โดนแฮ็ก Wallet หรือ Seed Phase
ในการเล่น DeFi นั้นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องมีเลยคือ Wallet เช่น Metamask Safepal Kaikas D’cent และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งถ้าเป็น Wallet ที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ก็จะมีความปลอดภัยที่สูงมากอยู่แล้ว แต่บางคนที่โดนแฮ็กนั้นไม่ได้มาจาก wallet ที่ไม่ปลอดภัย แต่มาจากการโดนแฮ็ก Seed phase ต่างหาก หลาย ๆ ชอบเก็บ Seed ไว้ในโซเชียลมีเดียร์บ้าง หรือแคปรูปเก็บไว้ ใส่ไฟล์ไว้ในคอม ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถถูกแฮ็กได้ทั้งนั้น ดังนั้นสิ่งที่ปลอดภัยก็คือการไม่นำ Seed เราไปไว้บนอิเล็กทรอนิกส์ เช่นจดใส่กระดาษแล้วใส่เซฟไว้เป็นต้น
7.Phishing Scam
รูปแบบนี้ไม่ใช่การแฮ็ก แต่เป็นการหลอกเหยื่อให้มาติดกับเอง เช่นการทำ Metamask ปลอมขึ้นมา พอคนนำ Seed Phase มาใส่โจรก็ได้รหัสเราไป นำไปเข้ากระเป๋าจริงบและโอนเหรียญออกไปหมด หรือการหลอกว่าถ้าโอนมาที่ลิงค์นี้จะได้อะไรพิเศษจนคนโอนเหรียญไปให้ Scamer ก็มี
8.โอนผิด
ปัญหาสุดคลาสสิคจาก Human Error ที่หลาย ๆ คนน่าจะเคยเจอ เช่นจะโอนไปที่อีก wallet นึงของเรา แต่ก๊อปปี้ขาดตัวท้ายไปตัวนึง หรือไปก็อป Address เหรียญมาใส่ ซึ่งแน่นอนว่าในโลก Decentralize โอนผิดแล้วไม่สามารถตึงเงินกลับมาได้ ทุกคนต้องดูและเงินตัวเอง ตั้งสติก่อนโอน
DeFi นั้นเปรียบเสมือนกับ Blue ocean น่านน้ำใหม่ที่เต็มไปด้วยโอกาสมากมายให้กับทุก ๆ คนที่ก้าวเข้ามาในที่แห่งนี้ แต่ในโลก Decentralize ถึงแม้จะมีโอกาสทำเงินได้มาก แต่ความเสี่ยงที่มีก็มากขึ้นเช่นกัน ทั้งจากตัวเราเอง และจากปัจจัยภายนอก
ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดจากเราเองสามารถลดได้ถ้าเรามีสติและใส่ใจในความปลอดภัยของ Wallet อย่างสม่ำเสมอ แต่กับปัจจัยภายนอกเช่น ฟาร์มที่เราไปลงทุนปิดหรือโดนแฮ็ก เป็นเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้เลย ดังนั้นการเลือกฟาร์มที่น่าเชื่อถือ และปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ
โดยถ้าพูดถึงความปลอดภัย Definix เองเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความเชื่อมั่น เนื่องจาก Definix เองผ่านการ Audit อย่าง Certik ที่เป็น Auditor ระดับโลก และยังมีการเปิด Certik Skynet ระบบตรวจสอบ Smart contract แบบ 24 ชม. แถมถ้ามีอะไรผิดพลาดเรายังมีเงินประกันจาก Certik Shield ชดเชยให้กับนักลงทุนด้วย ดังนั้นมั่นใจได้เลยว่าเงินที่ลงทุนกับ Definix นั้นจะถูกเก็บไว้อย่างดีแน่นอน
Napathsorn Unchit
Passionate about financial world and is an inverstor too! Giving out news update and blog post every month.
Visit us at SIX Network for more.
Related Posts
SIX Token is Listing on Gate.io, Leading Global Digital Asset Exchange on 19 November 2024
We’re excited to announce that SIX Token ($SIX) will be listed on Gate.io, one of the world’s most renowned digital
SIX Token จะถูกลิสต์ขึ้นบน Gate.io กระดานแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลนานาชาติชั้นนำ วันที่ 19 พ.ย. 67 นี้
SIX Token หรือ $SIX ลิสต์ขึ้นสู่แพลตฟอร์มใหม่แล้ววันนี้ บนกระดานแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ “Gate.io” หนึ่งในแพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีชื่อเสียงระดับโลก และมีความโดดเด่นเรื่องการรองรับสินทรัพย์ที่หลากหลาย มีฟีเจอร์การใช้งานบนแพลตฟอร์มที่ทันสมัย และมีมาตรการความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ซึ่งการลิสต์ SIX Token บน Gate.io ครั้งนี้ จะทำให้ผู้ถือเหรียญสามารถเข้าถึงการลงทุนได้มากขึ้น และเป็นการเปิดโอกาสให้ SIX
Samitivej Launch the Divine Elite Web Application, Developed by SIX Network to Elevate the Premium Member Experience
Samitivej Hospital introduces the ‘Divine Elite’ web application, a comprehensive healthcare program designed for all lifestyles and ages. Developed in
SIX Network Partners with ABC South Korea’s Top Security Company
SIX Network is thrilled to announce our new partnership with AhnLab Blockchain Company (ABC). ABC and SIX Network are Web3
SIX Network and FANDOM STUDIO Announce Partnership Collaboration to Advance Entertainment Industry
SIX Network is excited to announce our partnership with FANDOM STUDIO for the Fan-Fi project, making it easier for fans
SIX Network ประกาศร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ ‘FANDOM STUDIO’ โปรเจกต์ Fan-Fi ที่ช่วยให้แฟนคลับเข้าถึงศิลปินและวงการบันเทิงได้ง่ายยิ่งขึ้น!
SIX Network มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ FANDOM STUDIO เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อและวงการบันเทิงให้เติบโตยิ่งขึ้น ผ่านนวัตกรรมบล็อกเชนจาก SIX Ecosystem การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการส่งเสริมธุรกิจหรือวงการบันเทิง หรือ สร้างกิจกรรมที่ทำให้แฟนคลับกับผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงศิลปิน, ไอดอล, ผลงานเพลง และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ จาก Fan-Token NFT ซึ่งเป็นเหรียญประจำแพลตฟอร์มที่ใช้งานเพื่อรับสิทธิพิเศษต่าง