fbpx

เปิดมิติใหม่แห่งการลงทุน “LIQUIDITY”, “DEX”, “DeFi”

เปิดมิติใหม่แห่งการลงทุน “LIQUIDITY”, “DEX”, “DeFi”

Dex and The Liquidity Pool

Table of Contents

เปิดมิติใหม่แห่งการลงทุน “LIQUIDITY”, “DEX”, “DeFi”

การเติบโตของเทคโนโลยี blockchain สามารถจำแนกการแลกเปลี่ยนเหล่านี้ออกเป็นสองประเภท และระบบเหล่านี้ มีข้อดีและข้อเสียในระบบเศรษฐกิจการเงิน เพื่อที่จะทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างการแลกเปลี่ยนแบบ Centralized และ Decentralized และต่อไปในบทความนี้จะเล่าถึงคำจำกัดความและความหมายของระบบกัน

ทำไมเราต้องปรับเปลี่ยนระบบทางการเงิน?

 

DeFi เป็นตัวแทนของแพลตฟอร์มทางการเงินที่สร้างขึ้นจากบล็อกเชนสาธารณะ เป็นการปฏิวัติระบบการเงินเดิมอย่างสิ้นเชิง

 

เป็นการรวมระบบการทำงานของโปรโตคอล โทเค็น และ Smart Contract เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทางการเงินให้กับบุคคลทั่วไป โดยส่วนใหญ่แล้วโปรโตคอลไม่จำเป็นต้องทำธุรกรรมผ่านตัวกลางแบบสถาบันการเงินทั่วไป บริการที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในพื้นที่ของ DeFi ที่เปิดใช้งานในปัจจุบัน ได้แก่ การแลกเปลี่ยน การชำระเงิน กองทุน การกู้ยืม

 

Centralized Exchanges (CEXs) เป็นระบบการจัดการทางการเงินที่มีตัวกลางเป็นผู้กำหนดและรวมศูนย์ ในทางกลับกัน Decentralized Exchanges (DEXs) ดำเนินการบนเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ไม่มีตัวกลาง และกระจายอำนาจให้กับผู้ถือครองโดยตรง

 

ด้วยวิธีนี้ DEX จึงไม่ถือเงินและเอกกรรมสิทธิ์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าแต่จะเพียงแค่กำหนดวิธีการซื้อการขายให้ระบบประมวลผลให้ตรงกับขั้นตอนวิธีที่ถูกเขียนไว้บนบล็อกเชน

 

งั้นเรามาทำความรู้จักกันว่าอะไรคือจุดด้อยของ CEX ที่มีส่วนเพิ่มในการพัฒนาให้เกิด DEX กันแน่? จากบทความ Centralized Exchange (CEX) – Old-Fashioned But Still Strong  นี้มีความขัดแย้งกันในตัวเองอยู่ภายในบทความ

การเงินแบบศูนย์กลาง (Centralized Exchange) กำหนดให้ผู้ที่ต้องการลงทุนฝากเงินในกองทุนเพื่อให้สถาบันการเงินเป็นศูนย์กลางที่สามารถจัดการมูลค่ากองเงินในปริมาณที่มีขนาดใหญ่ แต่นั่นจะไม่สามารถเอื้อประโยชน์ให้กับเจ้าของเงินในการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงินได้เลย ผู้ใช้งานไม่สามารถถอนหรือแม้กระทั่งรับเงินในระบบศูนย์กลางได้ถ้าหากเกิดการโจรกรรมหรือแฮ็กเกิดขึ้น

ในบทความกล่าวต่อว่า การทำธุรกรรมบน DEX นั้นช้ากว่าปกติ แต่บล็อกเชนมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ให้สิทธิ์ในการเข้าถึงแก่เจ้าของและดำเนินการทำงานแบบ Peer-To-Peer

Key differences:

Centralized Exchange

ฝากเงินจริง (debit/credit) หรือคริปโทเคอเรนซี

ไม่มีอำนาจเหนือเงินนั้น

ไม่ได้เป็นเจ้าของ Private Key ของเงินของตนเอง

ทำงานบน Order Book และทำงานผ่านระบบตัวกลางในเครือข่ายรวดเร็วและไม่ล่าช้า

เราต้องแลกมากับการที่เราต้องเชื่อใจว่าธนาคารหรือแพลตฟอร์มนั้นจะไม่ทำเงินเราสูญหาย

Decentralized Exchange

ลงทุนด้วยเงินคริปโทเคอเรนซี

เป็นเจ้าของ Private Key ในคริปโทเคอเรนซีของตนเอง

เป็นผู้ควบคุมเงินด้วยตนเอง

ดำเนินการบนบล็อกเชนและ Smart Contract

จัดการได้ทุกธุรกรรมทางการเงินรวมถึงการฝากเงินด้วย

เรามีอำนาจในการจัดการเงิน ไม่มีตัวกลาง ยืดหยุ่น และตรวจสอบได้

การยืมและการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน (DEX)

 

มาพูดถึงสถานการณ์ในชีวิตจริงเมื่อคุณต้องการที่จะยืมเงินจากใครบางคนที่คุณรู้จัก อย่างแรกคุณต้องรู้ก่อนว่าคน ๆ นั้นมีจำนวนเงินหรือสกุลเงิน เพียงพอและตรงกับความต้องการหรือไม่

 

ถ้าผู้ให้กู้มีเงินไม่เพียงพอหรือสกุลเงินไม่ตรงกับความต้องการของคุณ สถานการณ์แบบนี้เรียกว่า ขาดสภาพคล่อง

 

ในความเป็นจริงคล้ายกับการแลกเปลี่ยนแบบ Decentralized Exchange โดยที่การแลกเปลี่ยนนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “Swap” จึงเป็นที่มาของ Swap Protocol แพลตฟอร์มบน DeFi ตัวอย่าง เช่น Uniswap, PancakeSwap, SushiSwap เป็นต้น

 

แต่เดิม DEX นั้นเกิดขึ้นบน Ethereum Chain อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนทรัพท์สินได้อย่างราบรื่นและผู้ใช้งานสามารถรับค่าตอบแทน หากมีการเพิ่มสภาพคล่องให้กับแต่ละกองอีกด้วย

 

นี่เป็นข้อดีของ Decentralized Exchange ที่ผู้ใช้หมดกังวลกับสภาพคล่องของสกุลเงินที่ต้องการแลกเปลี่ยน เพราะเงินเหล่านั้นจะถูกสะสมไว้ในกองเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะ และเก็บไว้ในพื้นที่ของบล็อกเชนตามแต่ละแพลตฟอร์มเพื่อให้พร้อมต่อการทำธุรกรรม

 

โดยปกติผู้ใช้จะถูกดึงดูดให้เป็นผู้บริการสภาพคล่องพร้อมกับได้รับผลตอบแทนที่เป็นประโยชน์ เหมือนกับการ“ขาย” สกุลเงินที่ครองอยู่ โดยจะได้รับกำไรกลับคืนมา

 

ในการแลกเปลี่ยนที่อยู่ภายใต้ระบบ Decentralized ผู้ใช้จะสามารถแลกเปลี่ยนคู่เหรียญที่รองรับได้เฉพาะคู่เหรียญในบล็อกเชนนั้น ๆ  (เช่น ERC-20: DAI เปลี่ยนกับ ETH)  ประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนแบบ DeFi คือระบบที่ไม่ใช้ตัวกลางในการถือครองสินทรัพย์ของผู้ใช้งาน

 

สินทรัพย์และสิทธิ์ของผู้ถือครองถูกกำหนดรูปแบบไว้ใน Smart Contract และให้กรรมสิทธิ์กับผู้เป็นเจ้าของสินทรัพย์โดยตรง และคำสั่งบน Smart Contract จะทำงานได้สมบูรณ์แบบหากคำสั่งทั้งหมดตรงตามเงื่อนไขข้อตกลงที่วางไว้ ระบบจะดำเนินการทำธุรกรรมต่าง ๆ ตามข้อตกลงโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าหากผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งไป ธุรกรรมทั้งหมดจะถูกยกเลิกทันที

Yield Farmer ทีจะได้รับผลตอบแทนสำหรับเป็นผู้เพิ่มสภาพคล่องหรือให้ผลประโยชน์กับระบบนิเวศของ Decentralized application. Yield Farmer ยังได้รับผลประโยชน์เป็นโทเค็นที่กำหนดอยู่บนเชนต้นทางเรียกว่า Governance Token และได้รับอัตราดอกเบี้ยรายปีหรือ APY (Annual Yield Percentage) เป็นกำไร

Summary

 

DEX และ Liquidity Pool มีความเกี่ยวโยงโดยที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ นี่อาจจะเป็นการปฏิวัติการสร้างรายได้แบบ passive income บนระบบ Dcentralized Finance 

 

และในที่สุด SIX Network กำลังจะเปิดตัวโปรเจ็กต์ใหม่ล่าสุดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาบนพื้นที่ DeFi ซึ่งในชั่วโมงนี้ไม่มีใครไม่เคยได้ยิน และ SIX ต้องการเน้นย้ำและส่งเสริมให้ทุกคนเทรดด้วยความเข้าใจและเนื้อหาความรู้ที่ครบถ้วนด้วยความมั่นใจ

 

การมีส่วนร่วมของเราในการสร้างแพลตฟอร์ม DeFi ทั้งสำหรับ Decentralized Exchange หรือ Investment Fund คือภารกิจของเราที่จะช่วยให้นักลงทุนไม่ว่าจะเป็นระดับเริ่มต้นหรือระดับผู้ชำนาญในการซื้อขายบนแพลตฟอร์มโดยไม่ทำให้ยากจนเกินขีดความสามารถและความเข้าใจด้วยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านคริปโตโดยตรง



Come back for more promising announcements and updates.

Stay tuned with us on these channels.

Napathsorn Unchit
Napathsorn Unchit

Passionate about financial world and is an inverstor too! Giving out news update and blog post every month.
Visit us at SIX Network for more.

Related Posts